HTML (Hypertext Markup Language)
เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปัจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ
ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม
ส่วนโปรแกรมที่ใช้เขียนนะครับ ส่วนมากเค้านิยมใช้ Notepad หรือไม่ก็ Wordpad (เป็นส่วนมากนะครับ -A-)
ส่วนโปรแกรมที่ใช้เขียนนะครับ ส่วนมากเค้านิยมใช้ Notepad หรือไม่ก็ Wordpad (เป็นส่วนมากนะครับ -A-)
โครงสร้างของภาษา HTML
<html>
<head> <title> ส่วนชื่อเอกสาร </title> </head>
<body>
tag คำสั่ง
tag คำสั่ง
</body>
</html>
</html>
ส่วนรูปแบบที่ใช้ในการเขียนทั้งตัวหนา ตัวเอียง สีตัวอักษร จนกระทั้งการใส่รูปภาพมีหลักการ ดังนี้
- <!-- --> แทรกหมายเหตุ
- <!--# --> แทรกคำสั่งสำหรับทำงานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์
- <!DOCTYPE> ระบุชนิดและหมายเลขรุ่น HTML
- <A> กำหนดจุดลิงก์และตำแหน่งแองเคอร์
- <ABBR> แสดงคำย่อ
- <ACRONYM> แสดงอักษรย่อ
- <ADDRESS> แสดงข้อความระบุสถานที่ติดต่อโดยเฉพาะ
- <APPLET> แสดงการทำงาน Java applet
- <AREA> กำหนดพื้นที่การลิงก์สำหรับอิมเมจแมปแบบ client-side
- <B> แสดงข้อความแบบตัวหนา
- <BASE> กำหนด URL พื้นฐานในเว็บเพจ
- <BASEFONT> กำหนดรูปแบบตัวอักษรพื้นฐานในเว็บเพจ
- <BDO> กำหนดทิศทางการอ่าน-เขียนข้อความ
- <BGSOUND> บรรเลงเพลงประกอบ
- <BIG> เพิ่มขนาดตัวอักษรขึ้น 1 ระดับ
- <BLINK> แสดงข้อความแบบกะพริบ
- <BLOCKQUOTE> แสดงข้อความอ้างอิง
- <BODY> กำหนดขอบเขตเนื้อความของเว็บเพจ
- <BR> กำหนดจุดสิ้นสุดบรรทัด (ขึ้นบรรทัดใหม่)
- <BUTTON> สร้างปุ่มกดในแบบฟอร์ม
- <CAPTION> แสดงคำอธิบายตาราง
- <CENTER> แสดงข้อความแบบจัดกึ่งกลาง
- <CITE> แสดงข้อความเพื่อการอ้างอิง
- <CODE> แสดงซอร์ซโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- <COL> กำหนดคุณสมบัติคอลัมน์ข้อมูลในตาราง
- <COLGROUP> กำหนดคุณสมบัติคอลัมน์ข้อมูลในตารางแบบเป็นกลุ่ม
- <COMMENT> แทรกหมายเหตุ
- <DD> แสดงส่วนคำอธิบายในรายการข้อมูลแบบให้คำนิยาม
- <DEL> แสดงการปรับปรุงเว็บเพจโดยการลบข้อความ
- <DFN> แสดงคำศัพท์หรือประโยคเฉพาะที่ถูกใช้งานเป็นครั้งแรก
- <DIR> แสดงรายการข้อมูลแบบแจกแจงเป็นข้อๆ ชนิดหลายคอลัมน์
- <DIV> แบ่งส่วนและกำหนดรูปแบบเนื้อความแบบเป็นบล็อก
- <DL> แสดงรายการข้อมูลแบบให้คำนิยาม
- <DT> แสดงส่วนคำสำคัญในรายการข้อมูลแบบให้คำนิยาม
- <EM> แสดงข้อความแบบตัวเน้น
- <EMBED> แสดงการทำงานโปรแกรม plug-in
- <FIELDSET> จัดกลุ่มฟิลด์ป้อนข้อมูลในแบบฟอร์ม
- <FONT> กำหนดรูปแบบตัวอักษร
- <FORM> สร้างแบบฟอร์มป้อนข้อมูล
- <FRAME> แสดงเฟรม
- <FRAMESET> แบ่งส่วนการแสดงผลเพื่อสร้างเฟรม
- <H1(-6)> แสดงข้อความหัวเรื่องขนาดต่างๆ
- <HEAD> กำหนดขอบเขตส่วนหัวของเว็บเพจ
- <HR> แสดงเส้นคั่นทางแนวนอน
- <HTML> กำหนดขอบเขตของเว็บเพจ
- <I> แสดงข้อความแบบตัวเอน
- <IFRAME> แสดงเฟรมแบบ inline
- <ILAYER> สร้างเลเยอร์แบบ inline
- <IMG> แสดงรูปภาพกราฟิก
- <INPUT> สร้างฟิลด์ป้อนข้อมูลแบบต่างๆ ในแบบฟอร์ม
- <INS> แสดงการปรับปรุงเว็บเพจโดยการเพิ่มเติมข้อความ
- <ISINDEX> สร้างแบบฟอร์มป้อนข้อมูลแบบง่าย
- <KBD> แสดงชื่อคีย์บนคีย์บอร์ด
- <KEYGEN> สร้างรหัสตรวจสอบในแบบฟอร์ม
- <LABEL> กำหนดข้อความประกอบฟิลด์ป้อนข้อมูลในแบบฟอร์ม
- <LAYER> สร้างเลเยอร์
- <LEGEND> แสดงคำอธิบายกลุ่มฟิลด์ป้อนข้อมูลในแบบฟอร์ม
- <LI> แสดงข้อมูล 1 แถวรายการในรายการข้อมูลแบบต่างๆ
- <LINK> กำหนดความสัมพันธ์กับเว็บเพจหรือข้อมูลภายนอก
- <LISTING> ช่วยแสดงข้อมูลที่มีความยาวมากเพื่อประหยัดพื้นที่
- <MAP> สร้างอิมเมจแมปแบบ client-side
- <MARQUEE> แสดงข้อความแบบตัวอักษรวิ่ง
- <MENU> แสดงรายการข้อมูลแบบแจกแจงเป็นข้อๆ ชนิดคอลัมน์เดี่ยว
- <META> กำหนดคุณสมบัติพิเศษของเว็บเพจ
- <MULTICOL> แสดงเนื้อความแบบหลายคอลัมน์
- <NOBR> ยกเลิกคุณสมบัติการขึ้นบรรทัดใหม่โดยอัตโนมัติ
- <NOEMBED> แสดงข้อความแทนการแสดงโปรแกรม plug-in
- <NOFRAMES> แสดงข้อความแทนการแสดงเฟรม
- <NOLAYER> แสดงข้อความแทนการแสดงเลเยอร์
- <NOSCRIPT> แสดงข้อความแทนการทำงานของสคริปต์
- <OBJECT> เรียกใช้อ็อบเจ็กต์ชนิดต่างๆ จากภายนอกเว็บเพจ
- <OL> แสดงรายการข้อมูลแบบแจกแจงเป็นข้อๆ โดยเรียงลำดับ
- <OPTGROUP> จัดกลุ่มตัวเลือกในลิสต์บ็อกซ์
- <OPTION> แสดงตัวเลือกในลิสต์บ็อกซ์
- <P> แสดงข้อความในลักษณะพารากราฟ
- <PARAM> กำหนดพารามิเตอร์สำหรับอ็อบเจ็กต์และ Java applet
- <PLAINTEXT> ยกเลิกคุณสมบัติ HTML
- <PRE> แสดงข้อความตามที่จัดรูปแบบไว้ในไฟล์ต้นฉบับ
- <Q> แสดงข้อความอ้างอิงแบบ inline
- <S> แสดงข้อความแบบมีเส้นขีดฆ่ากำกับ
- <SAMP> แสดงข้อความตัวอย่างโปรแกรม, สคริปต์ และอื่นๆ
- <SCRIPT> สร้างสคริปต์แบบ client-side
- <SELECT> สร้างลิสต์บ็อกซ์ในแบบฟอร์ม
- <SERVER> สร้างสคริปต์แบบ server-side
- <SMALL> ลดขนาดตัวอักษรลง 1 ระดับ
- <SPACER> กำหนดระยะช่องว่าง
- <SPAN> แบ่งส่วนและกำหนดรูปแบบท่อนข้อความแบบ inline
- <STRIKE> แสดงข้อความแบบมีเส้นขีดฆ่ากำกับ
- <STRONG> แสดงข้อความแบบตัวเข้ม
- <STYLE> สร้าง style sheet
- <SUB> แสดงข้อความแบบตัวพ่วงท้าย
- <SUP> แสดงข้อความแบบตัวยกระดับ
- <TABLE> สร้างตาราง
- <TBODY> กำหนดขอบเขตเซลล์ข้อมูลปกติในตาราง
- <TD> สร้างเซลล์ข้อมูลในตาราง
- <TEXTAREA> สร้างพื้นที่กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม
- <TFOOT> กำหนดขอบเขตเซลล์ข้อมูลท้ายตาราง
- <TH> สร้างเซลล์ข้อมูลหัวตาราง
- <THEAD> กำหนดขอบเขตเซลล์ข้อมูลหัวตาราง
- <TITLE> กำหนดชื่อเว็บเพจ
- <TR> สร้างแถวเซลล์ข้อมูลในตาราง
- <TT> แสดงข้อความแบบตัวพิมพ์ดีด
- <U> แสดงข้อความแบบขีดเส้นใต้กำกับ
- <UL>แสดงรายการข้อมูลแบบแจกแจงเป็นข้อๆ โดยไม่เรียงลำดับ
- <VAR> แสดงข้อความจำพวกค่าคงที่ ตัวแปร ฯลฯ
- <WBR> กำหนดจุดแบ่งคำ
- <XMP> แสดงข้อความเพื่อเป็นการยกตัวอย่าง
ภาค Quick Attributes
- ABBR ระบุคำย่อสำหรับเซลล์ข้อมูลในตาราง
- ABOVE ระบุ ID ของเลเยอร์ที่สร้างซ้อนอยู่ด้านบน
- ACCEPT ระบุชนิดของไฟล์ที่ใช้ส่งไปพร้อมกับแบบฟอร์ม
- ACCEPT-CHARSET กำหนดชุดตัวอักษร (ภาษา) ที่อนุญาตให้ใช้ในแบบฟอร์ม
- ACCESSKEY กำหนดคีย์ลัด
- ACTION กำหนด URL ที่จะรับข้อมูลจากการกรอกแบบฟอร์ม
- ALIGN จัดตำแหน่งการแสดงผล
- ALINK กำหนดสีของจุดลิงก์เมื่อถูกเลือกใช้
- ALT กำหนดข้อความสำหรับใช้แสดงแทน
- ARCHIVE ระบุ URL ของไฟล์คลาสพื้นฐานสำหรับใช้งานร่วมกับ Java applet
- AXIS จัดหมวดหมู่เซลล์ข้อมูลในตารางด้วยคีย์เวิร์ด
- BACKGROUND กำหนด URL ของภาพกราฟิกที่ใช้ปูพื้นฉากหลัง
- BALANCE กำหนดความสมดุลของเสียงจากลำโพงด้านซ้ายและขวา
- BEHAVIOR กำหนดลักษณะการเคลื่อนที่ของข้อความแบบตัวอักษรวิ่ง
- BELOW ระบุ ID ของเลเยอร์ที่สร้างซ้อนอยู่ด้านล่าง
- BGCOLOR กำหนดสีของพื้นฉากหลัง
- BGPROPERTIES กำหนดให้พื้นฉากหลังตรึงอยู่กับที่ ไม่เลื่อนตามการเลื่อนเว็บเพจ
- BORDER กำหนดขนาดเส้นกรอบ
- BORDERCOLOR กำหนดสีของเส้นกรอบตารางและเฟรม
- BORDERCOLORDARK กำหนดสีของเส้นกรอบตารางส่วนที่เป็นสีเข้ม
- BORDERCOLORLIGHT กำหนดสีของเส้นกรอบตารางส่วนที่เป็นสีอ่อน
- CELLPADDING กำหนดระยะเว้นขอบภายในของเซลล์ข้อมูลในตาราง
- CELLSPACING กำหนดระยะห่างระหว่างเซลล์ข้อมูลในตาราง
- CHALLENGE กำหนดข้อความเพื่อใช้เข้ารหัส public key ในแบบฟอร์ม
- CHAR กำหนดตัวอักษรที่ใช้เป็นจุดจัดตำแหน่งข้อความให้ตรงกันในตาราง
- CHAROFF กำหนดลำดับที่ของตัวอักษรที่ใช้เป็นจุดจัดตำแหน่งข้อความให้ตรงกันในตาราง
- CHARSET กำหนดชุดตัวอักษร (ภาษา)
- CHECKED กำหนดให้ฟิลด์ป้อนข้อมูลชนิด RADIO หรือ CHECKBOX มีการทำเครื่องหมาย
- CITE ระบุ URL อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
- CLASS ระบุคลาสรูปแบบที่ใช้งานจาก style sheet
- CLASSID ระบุ URL หรือหมายเลขประจำตัวอ็อบเจ็กต์ชนิด ActiveX
- CLEAR กำหนดรูปแบบการขึ้นบรรทัดใหม่
- CLIP กำหนดขอบเขตการแสดงผลภายในเลเยอร์
- CODE ระบุชื่อไฟล์ของคลาสเริ่มต้นการทำงานของ Java applet และอ็อบเจ็กต์
- CODEBASE ระบุ URL ใช้งานพื้นฐานสำหรับ Java applet และอ็อบเจ็กต์
- CODETYPE ระบุชนิดข้อมูลที่นำมาใช้งานร่วมกับอ็อบเจ็กต์
- COLOR กำหนดสีตัวอักษรและเส้นคั่นทางแนวนอน
- COLS กำหนดจำนวนคอลัมน์
- COLSPAN กำหนดจำนวนการรวมเซลล์ทางแนวนอนในตาราง
- COMPACT กำหนดให้แสดงรายการข้อมูลแบบกระชับ
- CONTENT ระบุคอนเทนต์สำหรับการกำหนดคุณสมบัติพิเศษของเว็บเพจ
- CONTROLS แสดงชุดปุ่มควบคุมวิดีโอคลิป
- COORDS กำหนดพิกัดพื้นที่การลิงก์ในอิมเมจแมปแบบ client-side
- DATA ระบุ URL ของแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้งานร่วมกับอ็อบเจ็กต์
- DATAFLD ระบุชื่อฟิลด์ข้อมูล
- DATAFORMATAS ระบุรูปแบบของฟิลด์ข้อมูล
- DATAPAGESIZE กำหนดจำนวนฟิลด์ข้อมูล
- DATASRC ระบุ ID ของเอลิเมนต์ที่ใช้เป็นแหล่งข้อมูล
- DATETIME ระบุวัน-เวลาที่ข้อมูลมีการแก้ไข
- DECLARE กำหนดให้เป็นอ็อบเจ็กต์ที่ไม่ทำงานและแสดงผล
- DEFER กำหนดให้เป็นสคริปต์ที่ไม่มีการเขียนข้อความลงในเว็บเพจ
- DIR กำหนดทิศทางการอ่าน-เขียนข้อความ
- DIRECTION กำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของข้อความแบบตัวอักษรวิ่ง
- DISABLED ยกเลิกการทำงาน
- DYNSRC ระบุ URL ของวิดีโอคลิปที่ใช้แสดงผลแทนภาพกราฟิก
- ENCTYPE ระบุชนิดข้อมูลสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลในแบบฟอร์ม
- EVENT ระบุชื่ออีเวนต์ที่กระตุ้นให้สคริปต์ทำงาน
- FACE กำหนดชื่อฟอนต์ตัวอักษร
- FOR ระบุ ID ของเอลิเมนต์ที่ต้องการให้ทำงานด้วย
- FRAME กำหนดการแสดงเส้นกรอบตาราง
- FRAMEBORDER กำหนดการแสดงเส้นกรอบเฟรม
- FRAMESPACING กำหนดระยะห่างระหว่างเฟรม
- GUTTER กำหนดระยะห่างระหว่างคอลัมน์ข้อความ
- HEADERS ระบุ ID ของเซลล์หัวตารางที่กำกับเซลล์ข้อมูลนั้น
- HEIGHT กำหนดความสูง
- HIDDEN กำหนดให้โปรแกรม plug-in ทำงานโดยไม่ใช้พื้นที่การแสดงผล
- HREF ระบุ URL สำหรับการลิงก์
- HREFLANG ระบุภาษาที่ใช้ในเว็บเพจปลายทางของการลิงก์
- HSPACE กำหนดระยะเว้นว่างด้านซ้าย-ขวา
- HTTP-EQUIV ระบุชื่อหัวข้อการตอบรับจาก HTTP
- ID กำหนดรหัสเฉพาะตัวสำหรับใช้อ้างอิง
- ISMAP กำหนดให้เป็นภาพกราฟิกสำหรับอิมเมจแมปแบบ server-side
- LABEL กำหนดข้อความตัวเลือกที่แสดงในลิสต์บ็อกซ์
- LANG ระบุภาษาที่ใช้แสดงข้อความ
- LANGUAGE กำหนดชนิดของสคริปต์ที่ใช้งาน
- LEFT กำหนดตำแหน่งเลเยอร์ทางแนวนอนเมื่อเทียบกับตำแหน่งในเว็บเพจ
- LEFTMARGIN กำหนดระยะเว้นขอบด้านซ้ายของเว็บเพจ
- LINK กำหนดสีของจุดลิงก์
- LONGDESC ระบุ URL สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
- LOOP กำหนดจำนวนรอบการแสดงผล
- LOWSRC ระบุ URL ภาพกราฟิกแบบหยาบที่ใช้แสดงผลก่อน
- MARGINHEIGHT กำหนดระยะเว้นขอบด้านบน-ล่างของเว็บเพจในเฟรม
- MARGINWIDTH กำหนดระยะเว้นขอบด้านซ้าย-ขวาของเว็บเพจในเฟรม
- MAXLENGTH กำหนดจำนวนตัวอักษรสูงสุดที่ป้อนได้ในช่องกรอกข้อมูล
- MAYSCRIPT ยอมให้ JavaScript ติดต่อกับ Java applet ได้
- MEDIA ระบุชนิดอุปกรณ์ที่ต้องการนำไปใช้แสดงผล
- METHOD กำหนดรูปแบบการส่งข้อมูลในแบบฟอร์มสู่เครื่องเซิร์ฟเวอร์
- MULTIPLE กำหนดให้เป็นลิสต์บ็อกซ์แบบเลือกได้ครั้งละหลายตัวเลือก
- NAME กำหนดชื่อเฉพาะตัวสำหรับใช้อ้างอิง
- NOHREF กำหนดให้เป็นพื้นที่การลิงก์ที่ไม่มีการลิงก์
- NORESIZE กำหนดให้เป็นเฟรมที่ผู้ใช้ปรับขนาดไม่ได้
- NOSHADE กำหนดให้แสดงเส้นคั่นเป็นแบบเส้นทึบ
- NOTAB กำหนดให้งดเว้นการใช้คีย์ TAB เพื่อเลือกใช้งาน
- NOWRAP ยกเลิกการขึ้นบรรทัดใหม่โดยอัตโนมัติ
- PAGEX กำหนดตำแหน่งเลเยอร์ทางแนวนอนเมื่อเทียบกับวินโดว์ที่อยู่ภายใน
- PAGEY กำหนดตำแหน่งเลเยอร์ทางแนวตั้งเมื่อเทียบกับวินโดว์ที่อยู่ภายใน
- PALETTE กำหนดสีฉากหน้า-หลังสำหรับใช้งานในโปรแกรม plug-in
- PLUGINSPAGE ระบุ URL โฮมเพจหรือเว็บเพจแสดงคำแนะนำของโปรแกรม plug-in
- PLUGINURL ระบุ URL ของ Java Archive (JAR)
- POINT-SIZE กำหนดขนาดตัวอักษรโดยมีหน่วยเป็นพอยต์
- PROMPT กำหนดข้อความประกอบแบบฟอร์มป้อนข้อมูลแบบง่าย
- READONLY กำหนดให้เป็นฟิลด์ป้อนข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงค่าไม่ได้
- REL กำหนดความสัมพันธ์จากเว็บเพจปัจจุบันสู่เว็บเพจปลายทางการลิงก์
- REV กำหนดความสัมพันธ์จากเว็บเพจปลายทางการลิงก์กลับสู่เว็บเพจปัจจุบัน
- RIGHTMARGIN กำหนดระยะเว้นขอบด้านขวาของเว็บเพจ
- ROWS กำหนดขนาดเฟรมในเฟรมเซ็ตและพื้นที่กรอกข้อมูล
- ROWSPAN กำหนดจำนวนการรวมเซลล์ทางแนวตั้งในตาราง
- RULES กำหนดการแสดงเส้นภายในตาราง
- SCOPE กำหนดขอบเขตเซลล์ข้อมูลหัวตารางที่ครอบคลุมไปถึง
- SCROLL กำหนดการแสดงสโครลบาร์
- SCROLLAMOUNT กำหนดระยะเคลื่อนที่ของตัวอักษรวิ่งในการเคลื่อนที่แต่ละครั้ง
- SCROLLDELAY กำหนดระยะเวลาหน่วงระหว่างการเคลื่อนที่แต่ละครั้งของตัวอักษรวิ่ง
- SCROLLING กำหนดการแสดงสโครลบาร์ในเฟรม
- SELECTED กำหนดให้ตัวเลือกในลิสต์บ็อกซ์ถูกเลือกโดยอัตโนมัติ
- SHAPE กำหนดรูปร่างพื้นที่การลิงก์ในอิมเมจแมปแบบ client-side
- SIZE กำหนดขนาด
- SPAN กำหนดจำนวนคอลัมน์ที่ต้องการจัดกลุ่มภายในตาราง
- SRC ระบุ URL ของแหล่งข้อมูลภายนอก
- STANDBY กำหนดข้อความที่ใช้แสดงขณะโหลดอ็อบเจ็กต์
- START กำหนดหมายเลขแถวรายการแถวแรก
- START ระบุเงื่อนไขการเริ่มต้นแสดงผลวิดีโอคลิป
- STYLE กำหนดรูปแบบโดยใช้ style sheet
- SUMMARY กำหนดข้อความสรุปใจความสำคัญของข้อมูลในตาราง
- SUPPRESS กำหนดการแสดงกรอบและไอคอนแทนภาพกราฟิกก่อนการโหลด
- TABINDEX กำหนดลำดับการใช้คีย์ TAB เพื่อเลือกใช้งาน
- TARGET ระบุชื่อวินโดว์หรือเฟรมที่ต้องการให้แสดงเว็บเพจปลายทางการลิงก์
- TEXT กำหนดสีของข้อความปกติ
- TITLE กำหนดข้อความแสดงหัวเรื่อง หรือคำแนะนำ
- TOP กำหนดตำแหน่งเลเยอร์ทางแนวตั้งเมื่อเทียบกับตำแหน่งในเว็บเพจ
- TOPMARGIN กำหนดระยะเว้นขอบด้านบนของเว็บเพจ
- TRUESPEED กำหนดให้ตัวอักษรวิ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วจริงของเครื่องคอมพิวเตอร์
- TYPE กำหนดชนิดการใช้งานและแสดงผล
- UNITS ระบุหน่วยวัดที่ใช้กำหนดขนาดพื้นที่การแสดงผลของโปรแกรม plug-in
- USEMAP กำหนดให้เป็นภาพกราฟิกสำหรับอิมเมจแมปแบบ client-side
- VALIGN จัดตำแหน่งการแสดงผลทางแนวตั้ง
- VALUE ระบุค่าข้อมูล
- VALUETYPE ระบุชนิดของข้อมูลในพารามิเตอร์
- VERSION ระบุหมายเลขรุ่น HTML
- VISIBILITY กำหนดเงื่อนไขการแสดงเลเยอร์
- VLINK กำหนดสีของจุดลิงก์ซึ่งลิงก์ไปยังเว็บเพจที่เคยเรียกใช้
- VOLUME กำหนดระดับความดังของเสียง
- VSPACE กำหนดระยะเว้นว่างด้านบน-ล่าง
- WEIGHT กำหนดระดับความหนาของตัวอักษร
- WIDTH กำหนดความกว้าง
- WRAP อนุญาตให้มีการตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ได้
- Z-INDEX กำหนดหมายเลขลำดับของชั้นเลเยอร์
ส่วนการจะใส่ชุดคำสั่งแต่ละครั้งต้องใส่คำสั่งปิดหลังจากไม่ใช้เสมอ นะครับยกตัวอย่างเช่น <B>....</B>